หน้าแรก   เกี่ยวกับเรา    บทความ    เว็บบอร์ด    รวมรูปภาพ   การสั่งซื้อ และการชำระเงิน   การจัดส่ง    ติดต่อเรา 

เมนู

 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 10/02/2010
ปรับปรุง 10/05/2024
สถิติผู้เข้าชม 24,109,802
Page Views 28,467,070
สินค้าทั้งหมด 768
 

หมวดหมู่สินค้า

 
« October 2024»
SMTWTFS
  12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  
ค้นหา

ราคา :

หมวดหมู่ :

ยี่ห้อ :

รุ่น :


 

ประเภทสินค้า

 

อาหาร และโภชนะสำหรับกระต่าย

อาหารกระต่าย และโภชนะสำหรับกระต่าย ในที่นี้ขอแบ่งออกเป็น 7 หัวข้อดังนี้

                   1. อาหารและการเก็บรักษา
                   
2. อาหารสำเร็จรูป
                   3. อาหารหยาบ
                  
4. ผักและผลไม้
                   5. แร่ธาตุและวิตามิน
                  
6. ขนมและอาหารเสริม
                   7. น้ำ

1. อาหารและการเก็บรักษา
                   อาหารกระต่ายมีมากมายหลายอย่าง ตั้งแต่อาหารสำเร็จรูป อาหารหยาบ ได้แก่ พวกหญ้าต่างๆ ผักผลไม้ อาหารเสริม รวมไปถึงเกลือแร่และวิตามิน อาหารทุกชนิดมีความสำคัญและช่วยสร้างความสมดุลในโภชนะได้ต่างๆกันไป กระต่ายแต่ละช่วงวัยต้องการอาหารที่มีโภชนะแตกต่างกันไป เช่น กระต่ายวัยเด็ก ต้องการอาหารที่มีโปรตีนและแคลเซียมสูง เพื่อใช้ในการเจริญเติบโต , กระต่ายรุ่น อาจต้องการโปรตีนลดลงมา และไม่ต้องการแคลเซียม, กระต่ายแก่ อาจจ้องการอาหารที่มีพลังงานต่ำ, แม่กระต่ายท้องและให้นมลูก ต้องการโปรตีนและแลเซียมสูง เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตพัฒนาการของลูกในท้อง และสร้างน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูก เป็นต้น อาหารกระต่ายที่ดีควรเป็นอาหารที่ใหม่ กลิ่นหอม และปราศจากเชื้อรา และในปัจจุบันมีอาหารสำเร็จรูปมากมาย เราสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมสำหรับกระต่ายของเรา
                  
                   ความสำคัญของอาหาร คือ เมื่อได้รับเข้าไปร่างกานสามารถนำไปใช้ในการดำรงชีพ การเจริญเติบโต รวมถึงการสืบพันธุ์ อาหาที่ดีควรมาจากวัตถุดิบที่เหมาะสมกับสัตว์ประเภทนั้นๆ กระต่ายเป็นสัตว์ที่อยู๋ในประเภท Herbivorous Monogastrics คือ กินพืชเป็นอาหาร และมีกระเพาะเดี่ยว ดังนั้นอหารกระต่ายที่เหมาะสมจึงไม่ควรมีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์ ลำไส้กระต่ายนั้นยาวมาก สามารถย่อยกาก หรือแม้กระทั่ง Cellulose ได้ดี

                   การเก็บรักษาอาหารมีผลโดยตรงต่อคุณภาพอาหาร เราจึงควรให้ความสำคัญกับการเก็บรักษามากพอๆกับการเลือกซื้อ ควรเก็บอาหารในที่แห้งและเย็น แต่ไม่ถึงขนาดต้องเก็บไว้ในตู้เย็นเพราะจะทำให้อาหารชื้น อาจใส่ไว้ในกล่องพลาสติกมีฝาปิด และใส่สารดูดความชื้นลงไป และตั้งไว้ในที่ๆปราศจากมด และแมลง


2. อาหารสำเร็จรูป

                     คืออาหารที่นำมาอัดเม็ดให้อยู่ในรูปแท่งทรงกระบอก เราสามารถพบได้ทั่วไปตามท้องตลาด ส่วนใหญ่จะอยู๋ในรูปอัดเม็ดเพื่อความสะดวกในการใช้ และการกินของกระต่าย หากเป้นผง ความฟ่ามจะสูงกระต่ายจะไม่ค่อยกิน ลูกกระต่ายสามารถกินอาหารเม็ดได้ตั้งแต่ 3-4 สัปดาห์ โดยกินร่วมกันน้ำนมแม่ ปัจจุบันอาหารสำเร็จรูปมีมากมายหลายชนิด เช่น โปรตีนสูง, ไฟเบอร์สูง, ลดกลิ่นมูล ฯลฯ สามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมและวัยของกระต่าย
 
                    การให้อาหารเม็ดมากเกินไปไม่เป็นผลดีต่อกระต่ายเพราะอาจทำให้กระต่ายอ้วน เนื่องจากได้รับพลังงานเกินความจำเป็น ซึ่งภาวะอ้วนจะส่งผลเสียต่อสุขภาพกระต่ายด้วย อาหารสำเร็จรูปจำรวมโภชนะต่างๆไว้ในเม็ดเดียวกัน คือ โปรตีน ไขมัน และกาก หรือ fiber อาหารบางยี่ห้ออาจมีการเสริมวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ที่จำเป็นไว้เพื่อให้ได้โภชนะที่เหมาะสม แม้ว่าอาหารเม็ดจะมีลักษณะคล้ายกันทางกายภาพ แต่อาจมีสูตรประกอบอาหารต่างกัน หากต้องการเปลี่ยนอาหารควรเริ่มจากทีละน้อยๆ เริ่มจาก 1 ส่วน 4 และค่อยๆ เพิ่มทีละน่อย จนเปลี่ยนเป็นอาหารใหม่ทั้งหมด และควรเปลี่ยนอาหารทุกครั้งเมื่ออาหารชื้น เพราะเมื่อกระต่ายกินเข้าไปอาจทำให้กระต่ายป่วยได้

                      โภชนะที่เหมาะสมสามารถช่วยให้กระต่ายมีการเจริญเติบโตที่ดี โภชนะในอาหารมีอยู๋ 6 อย่างคือ น้ำ, คาโบไฮเดรต, โปรตีน, ไขมัน แร่ธาตุ และวิตามิน

                       - น้ำ มีความสำคัญต่อระบบต่างๆของร่างกาย ช่วยให้ร่างกายมีความสมดุล

                       - คาโบไฮเดรต เป็นโภชนะที่ให้พลังงานในการดำรงชีพ 

                       - โปรตีน เป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อ เซลล์ต่างๆ จำเป็นต่อการเจริญเติบโต 

                       - ไขมัน เป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อต่างๆ ช่วยละลายวิตามินบางชนิด และเป้นแหล่งของกรดไขมันจำเป็น

                       - แร่ธาตุ  สำคัญต่อการเจริญเติบโต เป็นองค์ประกอบของกระดูก และฟัน และยังเป็นสารสื่อประสาทอีกด้วย

                       - วิตามิน เป็นโภชนะที่ขาดไม่ได้ และร่างกายจะใช้เพียงเล็กน้อย วิตามินแต่ละชนิดจะมีหน้าที่แตกต่างกันไป หากขาดอาจเกิดโรคบางโรคขึ้น 

                       

3. อาหารหยาบ

                      อาหารหยาบคืออาหารที่มี fiber สูง มีความสำคัญกับกระต่ายมากพอๆกับอาหาร อาหารหยาบจะถูกส่งไปย่อยที่ลำไส้ โดยมีจุลินทรีย์เป็นตัวช่วยย่อย อาหารหยาบช่วยคงความสมดุลของระบบย่อยอาหารของกระต่ายให้อยู่ในภาวะสมดุล หากได้รับ fiber ไม่เพียงพอ อาจเกิดภาวะท้องเสีย หรือท้องอืด และเสียชีวิตในเวลาต่อมา

                     อาหารหยาบอาจอยู่ในรูปหญ้าสด, หญ้าแห้ง, ต้นถั่วแห้ง, หรือ แบบอัดเม็ด หรืออัดก้อน สามารถเลือกได้ตามความเหมาะสม และความสะดวกในการใช้ 

                     - หญ้าสด ได้แก่ หญ้าขน, หญ้ารูซี่, หญ้าแพงโกล่า ฯลฯ สามารถปลูกเองภายในบริเวณบ้าน หรือตัดในบริเวณที่มีหญ้าเหล่านี้ขึ้นอยู่ เมื่อตัดเสร็จควรล้างด้วยน้ำสะอาจ และผึ่งสักครู่ให้น้ำแห้งก่อนนำมาให้กระต่าย

                     - หญ้าแห้ง คือการนำหญ้าสดมาทำให้อยู๋ในรูปแบบแห้ง อาจใช้วิธีตากแดดหรือนำเข้าเครื่องอบแห่ง เพื่อลดความชื้นในหญ้า หญ้าแห้งที่นิมยมได้แก่ หญ้าขนแห้ง, หญ้าแพงโกล่าแห้ง, หญ้าธิโมที, หญ้าเฮย์ ฯลฯ การทำหญ้าแห้งเป็นการถนอมพืชอาหารสัตว์ เพื่อให้สะดวกในการเก็บรักา และใช้ในฤดูแล้ง

                     - ต้นถั่วแห้ง ที่รู้จักกันดีที่สุดคืออัลฟาฟ่า โดยนำถั่วทั้งต้น หรือตัดเฉพาะยอดมาตากแห้ง ถั่วมีคุณค่าทางโปรตีนสูงกว่าหญ้า และในบางชนิดมี fiber สูงกว่า แต่ราคาก็จะสูงตามไปด้วย ในบ้านเรามีถั่วอาหารสัตว์อีกหลายชนิด แต่ไม่นิยมเนื่องจากไม่ค่อยมีการปลูกเพื่อจำหน่ายทางการค้า และต้นถั่วสดไม่เหมาะในกระต่ายอายุน้อยๆ เพระลำต้นอวบน้ำ

                      - หญ้าอัดเม็ด และหญ้าอัดก้อน เป็นรูปแบบการเก็บรักษาอาหารหยาบให้สะดวกยิ่งขึ้น โดยทำให้อยู๋ในรูปแบบก้อนหรือเม็ด โดยใช้สารบางชนิดเพื่อลดความฟ่ามในการอัดเม็ด หญ้าอัดก้อนช่วยลับฟันกระต่ายได้


  4. ผักและผลไม้

                       กระต่ายสามารถกินผักและผลไม้ได้มากมายหลายชนิด เช่น แครอท, กระหล่ำ ฯลฯ แต่ควรมั่นใจได้ว่าผักนั้นปลอดสารพิษ เพราะกระต่ายไวต่อพิษมาก พิษจากยาฆ่าแมลงสามารถทำให้กระต่ายอายุน้อยท้องเสีย และเสียชีวิตในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ในกระต่ายโตอาจพบอาการท้องเสียอย่างเดียว ในกรณีพิษไม่รุนแรง 
         
                        กระต่านอายุน้อยที่ไม่ทราบว่าเคยกินผักมาก่อนหรือไม่ ไม่ควรให้ผักสดทันที ควรรอให้อายุมากพอที่จะสามารถรับสิ่งแปลกใหม่ได้ หรืออาจถามจาผู้ขายหรือผู้เลี้ยงคนก่อนว่า กระยเคยกินอะไรมาบ้าง ผลไม้สด เป้นอาหารที่กระต่ายชอบ เพราะมีรสชาติดี หวาน หอม แต่การให้มากไปย่อมเป็นผลเสียต่อกระต่าย อาจให้มะละกอสด หรือสัปประรดสด ชิ้นเล็กๆ 2-3 ชิ้น / สัปดาห์ เพื่อป้องกันโรคก้อนขน 


5. แร่ธาตุและวิตามิน

                      แร่ธาตุบางชนิดมีผลต่อการเจริญเติบโของกระต่ายโดยตรง เช่น แคลเซียม และฟอสฟอรัส โดยแร่ธาตุเป็นสารประกอบอนินทรีย์ และในร่างกายเราจะมีแร่ธาตุประกอบอยู๋ประมาณ 30-40 ชนิด ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะ แร่ธาตุ แคลเซียมและฟอสฟอรัส

                      - แคลเซียม เป็นองค์ประกอบของกระดูกและฟัน และยังช่วยให้ระบบประสาทและกล้ามเนื้อทำงานได้อย่างเป็นปกติ ช่วยในการสร้างน้ำนม โดยเฉพาะแม่กระต่ายให้นมลูก แคลเซียมสำคัญมาก หากขาดแคลเซียมอาจทำให้กระต่ายมีอาการกระดูกเปราะ กระดูกอ่อน ขาแปร และหากเกิดในแม่กระต่าย อาจทำให้เป็นโรคไข้น้ำนม ซึ่งอันตรายต่อชีวิต

                      - ฟอสฟอรัส ในความเป็นจริงแคลเซียสและฟอสฟอรัสจะทำงานร่วมกันอย่างมีสมดุล หน้าที่หลักคือเป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน ธาตุฟอสฟอรัสมีผลโดยตรงต่ออัตราการผสมติด หากขาดฟอสฟอรัส อาจแสดงอาการดังน้คือ ชอบกัดไม้ กระดูก หิน ฯลฯ

                     วิตามิน เป็นโภชนะที่ขาดไม่ได้ และร่างกายจะใช้เพียงเล็กน้อย วิตามินแต่ละชนิดจะมีหน้าที่แตกต่างกันไป หากขาดอาจเกิดโรคบางโรคขึ้น วิตามินแบ่งเป็น 2 ประเภท คือละลายในน้ำ และละลายในไขมัน วิตามินที่ละลายในไขมัน คือ วิตามิน เอ, วิตามินดี, วิตามินอี และวิตามินเค วิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่วิตามินบี และวิตามินซี  หากกระต่ายขาดวิตามินเป็นเวลานานๆอาจทำให้ร่างกายเกิดอาการผิดปกติได้ 
                     


6. ขนมและอาหารเสริม

                     แม้ว่าขนมและอาหารเสริมไม่จำเป็นต้องให้กระต่ายกิน แต่การใอหารเสริมเป็ฯการกระชับสัมพันระหว่างเรากับกระต่ายได้เป็นอย่างดี และเป็นการลดการเบื่ออาหาร ช่วยให้กระต่ายมีความสุขในการดำรงชีวิตมากขึ้น การให้ขนมนั้นไม่ควรให้ในปริมาณมาก เพราะขนมบางชนิดมีปริมาณแป้งและน้ำตาลมาก อาจทำให้กระต่ายอ้วน อาจเสริมอาหารเสริมประเภทธัญพืชให้กระต่ายบ้างในบางกรณี เช่น ข้าวโอ๊ต ซึ่งมีกลิ่นหอม และกระต่ายชอบ ซึ่งก็ควรให้ในปริมาณจำกัดเช่นกัน เพราะธัญพืชส่วนประกอบหลังคือคาโบไฮเดรตย่อยยาก และอาจก่อให้เกิดภาวะท้องอืดได้
                       

7. น้ำ

                        น้ำมีความสำคัญต่อกระต่ายมาก เหมือนกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆที่ขาดน้ำไม่ได้ สัตว์ควรได้รับน้ำ 3-8 เท่า ของวัตถุแห้งที่ได้รับเข้าไป แม้ว่าน้ำจะไม่มีคุณค่าทางอาหาร แต่น้ำช่วยเสริมสร้างส่วนประกอบต่างๆ และสร้างความสมดุลของระบบต่างๆในร่างกาย ขาดอาหารอยู่ได้ แต่ขาดน้ำอยู๋ไม่ได้ ความสำคัญของน้ำมีดังนี้ คือ

                        - เป็นสื่อกลางทำให้เกิดปฏิกริยาเคมีต่างๆ ภายในร่างกาย เช่นการย่อยอาหาร ดูดซึมอาหาร ฯลฯ
 
                        - น้ำเป็นส่วนประกอบของเลือดและน้ำเหลือง 

                        - ช่วยรักษาระดับอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่

                        - เป็นส่วนประกอบของของเหลวงตามข้อต่อต่างๆของร่างกาย

                        - ช่วยทำให้อวัยวะต่างๆของร่างกายคงรูปอยู๋ได้

                        จะเห็นได้ว่าน้ำมีความสำคัญมากต่อการดำรงชีวิต น้ำสำหรับกระต่าย ควรสะอาด และไม่ควรเป็นน้ำที่มีตะกอน หรือเป็นน้ำหวานต่างๆ เพราะน้ำหวานอาจทำให้กระต่ายอ้วน และน้ำตาลจะทำให้ระบบย่อยอาหารของกระต่ายเกิดภาวะผิดปกติได้

                       
ที่มา : http://www.countryrabbitfarm.com/index.php?mo=3&art=336660 

บทความ

กระต่าย

กระรอก

แฮมสเตอร์

Cavy Group

ชูก้าไกลเดอร์

Exitic Pet ชนิดอื่นๆ

 

 

ข้อมูลและรูปที่มีอยู่ในเวบไซส์นี้มาจากประสบการณ์การเลี้ยงของทางร้านมีจุดประสงค์เพื่อ
ให้ลูกค้าหรือผู้สนใจเข้ามาอ่านเพื่อเป็นความรู้และแนวทางเท่านั้น
ห้ามลอกเลียนแบบ หรือนำไปอ้างอิงโดยไม่ได้รับอนุญาต
หากสนใจนำข้อความไปใช้ เพียงแจ้งทางเรา และให้เครดิตเวบไซส์ด้วยค่ะ
www.nubpetshop.com

 
  
view