กระรอกสามสี
ชื่อสามัญ กระรอกสามสี
ชื่ออังกฤษ Prevost's Squirrel
ชื่อวิทยาศาสตร์ Callosciurus prevostii (Desmarest, 1822)
หัวและลำตัว 25ซม.
หาง 27ซม.
ลักษณะ เป็นกระรอกที่ใหญ่ที่สุดใน สกุล Callosciurus
มีลักษณะสีขนที่เด่นชัด โดยหู ส่วนบนของหัว หลัง
และหางเป็นสีดำ สีข้างและต้นขาหลังเป็นสีขาว
ท้องขาหน้าและปลายขาหลังเป็นสีน้ำตาลแดง
บางครั้งอาจพบหางเป็นสีน้ำตาลเข้ม
หรือน้ำตาลเรียบๆ แก้มมีสีเทาจาง
ถิ่นที่อยู่ อาศัยอยู่ตามต้นไม้ค่อนข้างสูง ในป่าดงดิบชื้น
แถบมาลายู
อาหาร กินมด ปลวกและแมลงชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร
สถานะภาพ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง และพบเห็นได้ยากCR ®
พบในไทย
ที่มา : http://www.dnp.go.th/wffp/karongsamsee
พญากระรอกดำ
พญากระรอกดำ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ratufa bicolor ในวงศ์กระรอก (Sciuridae) วงศ์ย่อยพญากระรอก Ratufinae เป็นกระรอกชนิดหนึ่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นกระรอกชนิดที่ใหญ่ที่สุดที่พบในประเทศไทย หางยาวเป็นพวง ขนตามลำตัวและหางสีดำสนิท บางตัวอาจมีสะโพก หรือโคนหางออกสีน้ำตาล ขนบริเวณแก้มและท้องสีเหลือง เท้าหน้ามี 4 นิ้ว เท้าหลังมี 5 นิ้ว เล็บยาวและโค้งช่วยในการยึดเกาะต้นไม้ และสะดวกในการเคลื่อนไหวไปมา ขนาดโตเต็มที่มีความยาวลำตัวและหัว 33 *** 37.5 ซ.ม. ความยาวหาง 42.5 *** 46 ซ.ม. น้ำหนัก 1 *** 1.6 ก.ก.
มีการกระจายพันธุ์ในแคว้นอัสสัม ของอินเดีย ภาคตะวันออกของเนปาล ภาคใต้ของจีน พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย เกาะสุมาตรา เกาะชวา เกาะบาหลี มีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่ในป่าที่มีเรือนยอดไม้สูง เช่น ป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง มักพบเห็นอยู่ตามเรือนยอดไม้ที่รกทึบและใกล้ลำห้วย หากินในเวลากลางวันและหลับพักผ่อนในเวลากลางคืน มีความปราดเปรียวว่องไว สามารถกระโดดไปมาบนยอดไม้ได้ไกลถึง 22 ฟุต ปกติจะอาศัยอยู่ตามลำพัง ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์หรือมีลูกอ่อนที่อาจเห็นเป็นคู่หรือเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุได้ 2 ปี ตั้งท้องนาน 28 วัน ออกลูกครั้งละ 1 *** 2 ตัว โดยที่ตัวเมียมีเต้านมทั้งหมด 3 คู่ รังสร้างขึ้นโดยการนำกิ่งไม้สดมาขัดสานกันคล้ายรังนกขนาดใหญ่ และอาจจะมีรังได้มากกว่าหนึ่งรัง สถานะของพญากระรอกดำในธรรมชาติในสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) จัดให้อยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ (Endangered) แต่ปัจจุบันมีผู้สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ที่เลี้ยงได้แล้ว และนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง
พญากระรอกดำ ยังมีชื่อเรียกอื่นอีกว่า " กระด่าง "
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki
พญากระรอกเหลือง
พญากระรอกเหลืองที่สวนนงนุช พัทยา
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ratufa affinis เป็นกระรอกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดรองมาจากพญากระรอกดำ (Ratufa bicolor) ที่พบในประเทศไทย มีรูปร่างหน้าตาคล้ายพญากระรอกดำ แต่มีขนสีเหลืองครีมอ่อน ๆ ท้องสีขาว ขนหางสีเข้มกว่าลำตัว แก้มทั้งสองข้างมีสีเทาอ่อน หูและเท้าทั้ง 4 ข้าง มีสีดำ และมีขนาดเล็กกว่า โดยโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 31-36 เซนติเมตร หางยาว 37.5-41.5 เซนติเมตร น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 0.5-1.4 กิโลกรัม พบได้ในป่าดิบในภาคใต้ของไทยตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไป จนถึงมาเลเซีย เกาะสุมาตรา เกาะบอร์เนียว อาศัยและหากินบนยอดไม้สูง ไม่ค่อยลงพื้นดิน มีพฤติกรรมความเป็นอยู่และนิเวศน์วิทยาคล้ายพญากระรอกดำ ปัจจุบันเป็น สัตว์ป่าคุ้มครอง ในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87
กระรอกเผือก (ตาแดง)
กระรอกบิน
กระรอกหน้ากระแต
กระแตหางขนนก
ภาพจาก moremarin.com
กระแตหางขนนกมีตัวยาวประมาณ 13-14 เซนติเมตร หางยาว 16-19 เซนติเมตร หนัก 40 - 62 กรัม มีหัวนมสี่หัว หางมีสีได้หลากหลาย ตั้งแต่สีเทาจนถึงน้ำตาลอ่อน ท้องสีขาวหรือครีม ปลายหางตั้งแต่ระยะ 3 ใน 5 ของหางจนถึงปลายหาง ขนเป็นมีพู่ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของกระแตชนิดนี้
เขตกระจายพันธุ์อยู่ในคาบสมุทรมลายู มาเลเซีย สุมาตรา ทางเหนือของบอร์เนียว และเกาะข้างเคียง ในประเทศไทยพบทางป่าชายแดนภาคใต้ พบในป่าดั้งเดิมและป่าชั้นสอง สวนยาง หรือแม้แต่ในบ้านที่อยู่ชายป่า มักพบอยู่ในที่ที่มีต้นปาล์ม Eugeissona tristis ทำรังบนต้นไม้ รังอยู่สูงจากพื้น 12-20 เมตร ปูพื้นด้วยใบไม้แห้ง กิ่งไม้และเยื่อไม้ เส้นผ่านศูนย์กลางรังประมาณ 3 นิ้ว และยาวประมาณ 18 นิ้ว
กระแตหางขนนกหากินเวลากลางคืน เวลากลางวันจะค่อนข้างเฉื่อยชา หากถูกมนุษย์รบกวนในเวลากลางวัน มักจะหันหลังใส่คน อ้าปากกว้างและส่งเสียงดังข่มขู่ บางครั้งก็ขี้หรือเยี่ยวใส่ศัตรูด้วย แต่หากถูกรบกวนตอนกลางคืน จะวิ่งหนีไปอย่างรวดเร็ว กระแตหางขนนกกินทั้งพืชและสัตว์เช่นเดียวกับกระแตส่วนใหญ่ เคยพบกระแตชนิดนี้กินกล้วย องุ่น จิ้งหรีด และตั๊กแตน มด แมลงสาบ จั๊กจั่น แมลงปีกแข็ง แมลงใบไม้ และตุ๊กแก ทำรังอยู่ร่วมกันเป็นหมู่บ้าน หมู่บ้านหนึ่งมีรัง 2-7 รัง กระแตหางขนนกสามารถไต่กิ่งไม้ทางด้านใต้กิ่งได้ ประสาทสัมผัสที่หางไวมาก เมื่อแสดงอาการก้าวร้าวจะแกว่งหางไปมาแบบลูกตุ้ม แต่ถ้าตื่นเต้นจะชูหางขึ้นชี้ฟ้า
กระแตหางขนนกตั้งท้องนานประมาณ 45-55 วัน คาดว่าออกลูกครั้งละ 1-4 ตัว ลูกแรกเกิดหนักประมาณ 10 กรัม
กระแตในวงศ์ Tupaiidae มีพฤติกรรมการเลี้ยงลูกแปลกมาก หลังจากออกลูกแล้ว แม่จะให้นมลูกอ่อนจนตัวลูกด้วยเป่งไปน้ำนม ซึ่งมากถึง 50 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว หลังจากนั้นก็จะทิ้งลูกไปนานถึง 48 ชั่วโมงก่อนที่จะวกกลับมาให้นมจนเป่งแบบเดิมอีก นมของกระแตมีสัดส่วนไขมันสูงเป็นพิเศษ (ราว 26 เปอร์เซ็นต์) ซึ่งทำให้ลูกรักษาอุณหภูมิร่างกายได้ที่ 37 องศาเซลเซียสโดยไม่ต้องพึ่งความอบอุ่นจากแม่ นอกจากนี้ยังมีโปรตีนมากถึง 10 เปอร์เซ็นต์ ลูกกระแตสามารถออกจากรังได้ขณะที่มีอายุเพียง 4 สัปดาห์ ส่วนกระแตหางขนนกจะมีพฤติกรรมเลี้ยงลูกแบบนี้หรือไม่ยังไม่ทราบแน่ชัด เนื่องจากยังไม่เคยมีการสังเกตในกรงเลี้ยงเลย
ชื่อไทย
กระแตหางขนนก
ชื่ออังกฤษ
Pen-tailed Tree Shrew, Feather-tailed Treeshrew, Pentailed Treeshrew
ชื่ออื่น
ชื่อวิทยาศาสตร์
Ptilocercus lowii
อาณาจักร
Animalia
ไฟลัม
Chordata
ชั้น
Mammalia
อันดับ
Scandentia
วงศ์
Ptilocercidae
สถานภาพการคุ้มครอง
ไซเตส : บัญชีหมายเลข 2
สถานภาพประชากร
ไอยูซีเอ็น : ความเสี่ยงต่ำ (LR)
ที่มา : http://www.verdantplanet.org/animalfiles/pen-tailedtreeshrew_(Ptilocercus_lowi).php
ภาพเพิ่มเติม
ที่มา :www.tistr.or.th/t/publication/pa...26i2%3D2
ที่มา : mek.niif.hu/03400/03408/html/826.html
กระรอกหางม้าจิ๋ว
เนื่องจากคุณ SAISEE ได้ถามมาเกี๋ยวกับกระรอกขนุน
จึงเก็บความรู้มาฝากกันนะคะ
ตัวแนนเองก็ไม่เคยได้ยินชื่อนี้เหมือนกัน
เพราะเป็นชื่อท้องถิ่น ลองถามอาจารย์ คนเลี้ยงกระรอก
และคนขายกระรอกที่ขายกันมานาน
ก็ยังไม่มีใครรู้ ว่าคืออะไรกันแน่
ได้ข้อมูลจากคุณ SAISEE ดังนี้ค่ะ
" กระรอกหางม้าจิ๋วนั่นหละคุณแนน คนเฒ่าคนแก่แถวนี้เขาบอกว่ามีเฉพาะยะลา นราธิวาส ทางนี้เท่านั้น ขึ้นไปทางอ.หาดใหญ่ สงขลาไม่มี ที่ยะลาเรียก *รอกหนวยหนุน* หรือกระรอกเม็ดขนุน นั่นหละค่ะ ตัวมันโตเต็มที่ประมาณที่คุณแนนบอกนั่นหละ หางมันมีสองสีสีเหลืองอ่อนๆ กับดำ หางมันจะกระดกตลอดเวลา แล้ววิ่งได้เร็วมากๆ ถ้าคุ้นกับเรามากๆมันไม่ไปไหนจะวิ่งเล่นตามตัวตลอด วิ่งได้เร็วมาก "
ขอบคุณข้อมูลดีๆจากคุณ SAISEE มากๆนะคะ
ข้อมูลทั่วไปของกระรอกหางม้าจิ๋ว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sundasciurus lowii
ชื่อสามัญ : Low's Squirrel
ถิ่นที่พบ : พบได้ในประเทศ อินโดนิเซีย มาเลเซีย และประเทศไทย เฉพาะทางตอนใต้
ข้อมูลบางที่แจ้งว่าอาจมีพบในแถบเวียดนามด้วย
ความยาวลำตัวประมาณ 15 ซ.ม. ขึ้นไป ความยาวส่วนหางประมาณ 10 ซ.ม. ลักษณะขน
1 เส้นมี 2 สี ขนส่วนบนเป็นสีน้ำตาลแดง ขนส่วนล่างเป็นสีครีมหรือเหลืองอ่อน หากินช่วงเช้ามืด
นอนกลางวัน กินพวกแมลงเป็นอาหาร เช่น มด,ปลวก และผลไม้